ฟิลเลอร์ คืออะไร?
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น การะบวนการในการผลิตคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ชั้นผิว เริ่มมีประสิทธิภาพลดน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดริ้วรอย ร่องลึกที่เกิดขึ้นตามวัย ฟิลเลอร์จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาการปรับรูปหน้าได้อย่างตรงจุด ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและชัดเจน จึงค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้ฟิลเลอร์ในการปรับรูปหน้า หรือแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆไว้ในบทความนี้ เพื่อให้คนที่กำลังตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ได้รู้ข้อมูลก่อนการตัดสินใจ
ฟิลเลอร์คือ การฉีดสารเติมเต็มผิวด้วยสารไฮยาลูโรนิคเอซิด (Hyaluronic Acid) หรือที่เรียกกันว่า HA เพื่อช่วยเติมเต็มใบหน้า เสริมชั้นผิวหนังและใต้ผิวหนัง จะช่วยกักเก็บน้ำให้แก่ชั้นผิว เติมเต็มช่องว่างให้กับเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวเกิดความยืดหยุ่น เต่งตึง เรียบเนียน ปราศจากริ้วรอย เราจะใช้ฟิลเลอร์ในการเติมเต็มริ้วรอยร่องลึก ที่เกิดขึ้นตามจุดต่างๆบนใบหน้า ทำให้ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นขึ้น รักษาแผลเป็นจากสิว หรืออาจจะฉีดที่ปากเพื่อให้ริมฝีปากดูอวบอิ่ม คนไข้ที่มีอายุมากขึ้น สาเหตุที่ทำให้คอลลาเจนลดลง สามารถใช้ฟิลเลอร์ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ฟิลเลอร์แท้สามารถสลายไปเองตามธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
สารบัญฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์แบ่งได้กี่ประเภท
การฉีดฟิลเลอร์เข้าสู่ผิวหนังมีหลายประเภท บางประเภทให้ผลลัพธ์ที่ยาวนานและบางประเภทก็ให้ผลลัพธ์แค่ชั่วคราว หากทำจากสารที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน สามารถแบ่งชนิดของฟิลเลอร์ได้ 3 ประเภทหลักๆ
1.Temporary Dermal Filler (แบบชั่วคราว)
ฟิลเลอร์ (Filler) ที่มีความคงตัวนานในร่างกายประมาณ 8 – 12 เดือน ฟิลเลอร์ชนิดนี้ทำการสกัดคอลลาเจนจาก Bovine (วัว) ดังนั้นผู้ที่ต้องการใช้ฟิลเลอร์ชนิดนี้จะต้องทำการทดสอบก่อนว่าแพ้สารที่มีอยู่ในวัวหรือไม่ เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการแพ้สารจากวัว ฟิลเลอร์ชนิดนี้ ได้แก่ Zyderm, Zyplast ซึ่งจัดว่าเป็นฟิลเลอร์ที่มีคุณสมบัติเป็นคอลลาเจนที่มาจากธรรมชาติ ปัจจุบันฟิลเลอร์ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเมื่อเกิดอาการแพ้แล้ว จะมีอาการรุนแรง เป็นอันตรายสูง
2. Semi – Permanent Dermal Filler (แบบกึ่งถาวร)
ฟิลเลอร์ ชนิดกึ่งถาวรที่ทำการเติมเต็มด้วยการฉีด อยู่ในกลุ่มของ Hyaluronic Acid (HA) เช่น Restylane, Juvederm, Hylaform เป็นต้น ทำการสังเคราะห์จากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ซึ่งสารที่สกัดได้นี้จะมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยรักษาน้ำที่มีอยู่ในผิว ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้นและเต่งตึงกระชับมากขึ้น เมื่อฉีดแล้วมีกระจายตัวไปยังบริเวณข้างเคียง สามารถอยู่ในร่างกายได้ประมาณ 2 ปี เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วฟิลเลอร์จะมีความปลอดภัย มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อย ทางคลินิกจึงนิยมใช้ฟิลเลอร์ชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย
3. Permanent Dermal Filler (แบบถาวร)
ฟิลเลอร์แบบถาวร เป็นสารเติมเต็มพวก ซิลิโคลน หรือ พาราฟิน หลังฉีดไปแล้วผิวจะไม่สามารถดูดซึมฟิลเลอร์ชนิดนี้ได้ ทำให้คงค้างอยู่ในชั้นผิวของเรา โดยไม่สามารถสลายไปตามธรรมชาติ มีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหล ฟิลเลอร์ย้อย ฟิลเลอร์ผิดรูป ในประเทศไทยฟิลเลอร์ชนิดนี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาใช้ในการศัลยกรรมได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายในประเทศ
ฟิลเลอร์เหมาะกับใคร
• ผู้ที่มีปัญหาต้องการปรับรูปหน้าให้ได้รูป มีมิติ
• ผู้ที่มีปัญหาริ้วรอยร่องลึก บริเวณต่างๆ
• ผู้ที่ต้องการย้อนวัยอย่างเป็นธรรมชาติ เห็นผลไว ไม่ต้องพักฟื้น
• ผู้ที่ต้องการแก้ปัญหาถุงใต้ตา ร่องใต้ตาลึก ใต้ตาคล้ำ
• ผู้ที่ต้องการแก้ไขริมฝีปากไม่ได้รูป ริมฝีปากบาง ให้ดูอวบอิ่ม
• ผู้ที่มีปัญหาเรื่องรูขุมขน หลุมสิวบนใบหน้า
• ผู้ที่ต้องการบำรุงผิวหน้าให้กลับมาคงความอ่อนเยาว์ สดใส เปล่งปลั่ง
การฉีดฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น แต่มีฟิลเลอร์เพียงชนิดเดียวที่มีปลอดภัยที่สุดและผ่านการรับรอง คือ Hyaluronic Acid (HA) สารเติมเต็มที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้อนุมัติว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัย นิยมใช้ในวงการแพทย์และด้านความงามอย่างแพร่หลาย ฉีดแล้วสามารถสลายไปได้หมด 100% และต้องฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง โดยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความปลอดภัยสูง จุดประสงค์ของการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อการเติมเต็มข้อบกพร่องบริเวณใบหน้า เมื่อฟิลเลอร์เข้าสู่ร่างกายจะดูดซับน้ำจากภายในร่างกาย และขยายทำให้บริเวณที่ถูกฉีดดูเต็มขึ้น
ฟิลเลอร์แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ แม้จะเป็น Hyaluronic Acid เหมือนกัน แต่เนื่องด้วยเทคโนโลยีและขั้นตอนวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดคุณสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน ฟิลเลอร์แต่ละรุ่นเหมาะกับการใช้ฉีดในจุดต่างๆของใบหน้าไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยปกติเมื่อเราไปพบแพทย์เพื่อฉีดฟิลเลอร์ แพทย์ก็จะเป็นผู้แนะนำว่าผิวของเราเหมาะกับฟิลเลอร์รุ่นไหน ยี่ห้อไหน ซึ่งส่วนนึงก็ขึ้นกับความถนัดของแพทย์หรือเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละท่านด้วย ฟิลเลอร์ในทางการแพทย์ จะหมายถึงการฉีดสารเติมเต็มซึ่งในต่างประเทศแบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้
-
- HA (Hyaluronic Acid) ปลอดภัย100% สลายหมด ไม่มีสารตกค้าง มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
- Collagen จากสัตว์ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เนื่องจากมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ บวมแดงได้ง่าย
- Transplanted Fat หรือการเติมไขมัน จะเหมาะกับคนที่ต้องการฉีดครั้งละมากๆ 10 – 20 CC
- Biosynthetic Polymers เป็นกลุ่มของซิลิโคนเหลว ไม่สลาย ไม่ปลอดภัยและไม่ผ่านอย.
- ฟิลเลอร์ปลอม ส่วนใหญ่มักเจอจากการฉีดกับหมอกระเป๋า หรือหมอที่ไม่ชำนาญด้านการฉีดฟิลเลอร์และไม่ทราบถึงวิธีการตรวจสอบว่าเป็นฟิลเลอร์แท้หรือปลอม หากฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปช่วงแรกๆจะรู้สึกเหมือนปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะพบว่าฟิลเลอร์ไม่สลาย และจับเป็นก้อน กลายเป็นซิลิโคนเหลวที่เกาะแน่นอยู่กับกระดูก หรืออาจจะไหลไปมาบนใบหน้า ทำให้ใบหน้าผิดรูปไปเลยก็ได้ หากต้องการสลายจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดขูดซิลิโคนออกเท่านั้น
- ติดเชื้อจากการฉีดฟิลเลอร์ จากการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือการแพทย์ที่ไม่สะอาด เลือกคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มีอาการอักเสบ บวมแดง และเขียวช้ำมากกว่าปกติ
- ไม่ควรเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินความจริง ว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นเป็นแบบกึ่งถาวร หรือเป็นฟิลเลอร์ที่สามารถอยู่ได้นานเกินกว่า 5 ปี เพราะเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายเองได้ ฟิลเลอร์หากอยู่ใต้ผิวหนังเป็นระยะเวลานานเกินไป อาจจะมีการเคลื่อนตำแหน่งไปยังจุดอื่นบนใบหน้าได้ เมื่อคนไข้เลือกที่จะฉีดฟิลเลอร์ ควรที่จะศึกษาหาวิธีการสังเกตฟิลเลอร์ของแท้ยี่ห้อต่างๆ ที่สำคัญคือ ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรให้หมอแกะกล่องฟิลเลอร์ให้ดู และขอกล่องกลับบ้าน หรือถ่ายรูปเก็บไว้ตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ที่ได้มาตรฐานจะดีที่สุด
- ควรเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่มีลักษณะโมเลกุลขนาดเล็ก มีความละเอียดที่เหมาะสมกับผิวหนังในบริเวณที่ต้องการฉีด เพราะถ้าฉีดฟิลเลอร์ชนิดที่มีความละเอียดของโมเลกุลขนาดใหญ่มากเกินไป จะไม่เหมาะกับผิวบริเวณที่ฉีด ส่งผลให้หนักและหน่วงผิว ทำให้ฟิลเลอร์เกิดการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณอื่นบนใบหน้าได้ ซึ่งคนทั่วไปจะเรียกกันว่า “ฟิลเลอร์ไหล” ดังนั้นคนไข้ควรปรึกษากับแพทย์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รู้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยเลือกฟิลเลอร์ที่เหมาะสมให้กับคนไข้ ก่อนที่คนไข้จะตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์
คนไข้อาจจะมีอาการบวมแดง เขียวช้ำ หรือคันได้ในจุดที่ทำการฉีดฟิลเลอร์เป็นเรื่องปกติ แต่ให้หลีกเลี่ยงการแตะ การเกา หรือการกดนวดในจุดนั้นๆ อาการต่างๆจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน หาก 3 วันไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์คลินิกที่ได้ทำการรักษา หากฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นเป็นฟิลเลอร์แท้จะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่เกิดการไหลย้อย หรือฟิลเลอร์ที่ผิดรูป แต่อาการข้างเคียงที่เกิดจากเทคนิคของแพทย์ก็อาจจะเกิดขึ้นได้หากคนไข้ไม่ได้รับบริการจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ควรงดอาหารเสริมหรือยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดยากลุ่มต้านการอักเสบ NSAIDS ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Aspirin เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมน้ำหรืออาการรอยช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์อย่างน้อยควรงด 2 สัปดาห์ก่อนมาฉีดฟิลเลอร์
- ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ควรงดวิตามินอาหารเสริมจำพวก วิตามินอี น้ำมันปลา ใบแปะก๊วย สารสกัดโสม ขิง กระเทียม เพราะจะส่งผลให้แผลช้ำง่ายและเลือดหยุดไหลช้าลง ควรงดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนมาฉีดฟิลเลอร์
- ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 – 2วัน ก่อนมาฉีดฟิลเลอร์
- ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ควรงดการทำกิจกรรมที่ทำให้เลือดสูบฉีด เช่น ซาวน่า ออกกำลังกาย Cardio อย่างน้อยเป็นเวลา 24ชั่วโมง ก่อนมาฉีดฟิลเลอร์
- ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ควรงดการทำเลเซอร์ในบริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ อย่างน้อย 3 วัน และหลังทำการฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วต้องงดการทำเลเซอร์ในบริเวณที่ฉีดไปอีก 2 อาทิตย์
- ก่อนการฉีดฟิลเลอร์คนไข้ต้องมีสุขภาพร่างกายอยู่ในสภาพปกติดี ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง และไม่ได้อยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่
- หากเป็นไปได้ในวันที่เข้ามาทำการฉีดฟิลเลอร์ควรล้างเครื่องสำอางหรือทำความสะอาดใบหน้าก่อนมาพบแพทย์
- แพทย์จะทำการประเมินใบหน้าและวางแผนแก้ปัญหาของแต่ละบุคคล รวมถึงตรวจดูบริเวณที่จะทำการฉีดฟิลเลอร์เพื่อแก้ไขปัญหาบนใบหน้า อาจจะมีการทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์การฉีดฟิลเลอร์ในแต่ละจุดบนใบหน้า รวมถึงการถ่ายภาพใบหน้าบริเวณที่ทำ เพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังการฉีดฟิลเลอร์
- ทำความสะอาดและใช้ยาระงับความรู้สึก ขึ้นตอนแรกแพทย์หรือพยาบาลจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดฟิลเลอร์ หากคนไข้มีการแต่งหน้ามาก่อนจะต้องทำการล้างเครื่องสำอางออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นจะใช้การทายาระงับความรู้สึกหรืออาจจะใช้อุปกรณ์ที่เย็นจัด เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทำการฉีดฟิลเลอร์
- ฉีดฟิลเลอร์ เมื่อแพทย์ได้ทำการประเมินใบหน้าของคนไข้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะใช้เวลาในการฉีดแต่ละเข็มเพียงไม่นาน หลังจากที่แพทย์ฉีดฟิลเลอร์เป็นที่เรียบร้อย แพทย์ก็จะทำการนวดบริเวณที่ฉีดและประเมินผลไปพร้อมๆกัน หรือในคนไข้บางรายอาจจะมีการเพิ่มปริมาณของฟิลเลอร์ตามที่แพทย์เห็นสมควร
- การทำความสะอาดแผล เมื่อแพทย์เห็นว่าผลลัพธ์ของการรักษาเป็นที่น่าพอใจแล้ว แพทย์จึงจะลบเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ทำไว้ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ และอาจจะใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการบวมและช่วยบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นกับคนไข้ ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์อาจจะมีอาการฟกช้ำจากรอยเข็มที่ฉีดเข้าไปอยู่สัก 1 – 2 วัน แต่ก็จะไม่มีอาการเจ็บมาก และเมื่อคนไข้กลับไปพักฟื้นที่บ้านอาจใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ทำการฉีดฟิลเลอร์มา โดยอาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง หรือคนไข้บางรายอาจจะใช้เวลา 2 – 3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ในระหว่างนี้คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มร้อนๆ รวมถึงการเผชิญแสงแดด หากคนไข้รู้สึกไม่พอใจกับผลลัพธ์ในการฉีดหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ควรไปพบแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อให้ตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น
- นัดติดตามผล หลังการฉีดฟิลเลอร์เสร็จแล้ว แพทย์จะทำการนัดคนไข้เข้ามาดูผลลัพธ์ว่าคนไข้พึงพอใจมากน้อยเพียงใด
การฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถทำได้หากหลังจากการฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วพบว่ามีลักษณะบวม เป็นก้อนแข็ง กดไม่ลง ผิวไม่เรียบเนียน ขาดความมั่นใจ อันเกิดจากผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ การฉีดสารเพื่อสลายฟิลเลอร์เป็นการใช้เอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyarulonidase : HYALINE) เอ็นไซม์ตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยลดการอุ้มน้ำของฟิลเลอร์ ไขมัน และสลายการยึดเกาะของเนื้อฟิลเลอร์กับผิว ช่วยปรับสมดุลให้ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ให้กลับมาเรียบเสมอกันเหมือนเดิม หรือใกล้เคียงมากที่สุด โดยฟิลเลอร์กลุ่ม Hyaluronic Acid (HA) จะถูกสลายไป แต่สามารถสลายได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้ที่ทำมาจากกรดไฮยาลูรอนิค เอซิดเท่านั้น ไม่สามารถเห็นผลได้กับฟิลเลอร์กลุ่มอื่น เช่น ซิลิโคลน หรือ พาราฟิน ซึ่งมีผลเสียอย่างมากในระยะยาว แพทย์จะไม่แนะนำให้ฉีดเพราะไม่สามารถสลายเองตามธรรมชาติได้ หากต้องการเอาออกต้องทำการขูดเท่านั้น
การฉีดสลายฟิลเลอร์ในแต่ละจุดที่ไม่พึงประสงค์ หากเป็นปัญหาที่เกิดจาการฉีดฟิลเลอร์แท้ กลุ่ม Hyaluronic Acid (HA) จะสามารถฉีดสลายได้ด้วยเอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส โดยการฉีดสลายฟิลเลอร์นั้น จะทำการฉีด 1 – 3 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของฟิลเลอร์และตำแหน่งที่ฉีด ปริมาณฟิลเลอร์ที่มีปัญหา หากมีขนาดที่ใหญ่มากอาจจะต้องใช้ปริมาณการฉีดหลายครั้ง ฟิลเลอร์จึงจะสลายหมด การฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจนภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากฉีดอาจจะมีอาการบวมเล็กน้อย แต่จะหายได้เองภายใน 7 วัน และแพทย์จะทำการนัดหมายคนไข้เข้ามาเพื่อดูผล ว่าหลังจากฉีดไปแล้วจะยุบไปหมดหรือไม่ หรือยังมีก้อนอยู่
เพราะฟิลเลอร์มีหลายแบรนด์และแต่ละแบรนด์มีหลายรุ่น จึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ก่อนจะเลือกฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ว่าเพราะอะไร ทำไมเราถึงควรใช้ฟิลเลอร์รุ่นนี้ในตำแหน่งนี้ หรือแม้แต่ตำแหน่งเดียวกัน ทำไมต้องใช้ฟิลเลอร์ต่างกันขึ้นอยู่กับอะไร ในเบื้องต้นต้องรู้ก่อนว่าบนใบหน้าของเรา มีจุดไหนบ้างที่ฟิลเลอร์สามารถแก้ปัญหาได้ มีทั้งหมด 7 จุดปัญหาบนใบหน้าที่ควรฉีดฟิลเลอร์
- ฟิลเลอร์ใต้ตา แก้ปัญหาริ้วรอยใต้ตา รอยตีนกา ขอบตาดำ ใต้ตาคล้ำ ถุงใต้ตา ใต้ตาหย่อนคล้อย เบ้าตาลึก
- ฟิลเลอร์คาง แก้ปัญหาคางสั้น คางตัด คางถอย คางบุ๋ม
- ฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ปัญหาริ้วรอย ร่องแก้มลึก ความหย่อนคล้อยของผิวบริเวณร่องแก้ม
- ฟิลเลอร์ปาก แก้ปัญหามุมปากตก รูปปากที่ไม่ได้สัดส่วน ริมฝีปากบางเกินไป ริมฝีปากไม่เท่ากัน ร่องริมฝีปากลึก
- ฟิลเลอร์ขมับ แก้ปัญหาขมับตอบ ขมับยุบ โหนกแก้มสูง หน้าไม่ได้รูป
- ฟิลเลอร์หน้าผาก แก้ปัญหาหน้าผากแบน หน้าผากแคบ มีรอยยุบ รอยบุ๋ม ริ้วรอยบริเวณหน้าผาก
- ฟิลเลอร์แก้มตอบ แก้ปัญหาหน้าแบน แก้มตอบ แก้มยุบ ไม่มีมิติ หน้าหย่อนคล้อย
ในปัจจุบันก็มีฟิลเลอร์หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่นด้วยกัน ราคาก็แตกต่างกันไป ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมและผ่านการรับรองในประเทศไทย ซึ่งก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สำคัญคืออย่าลืมปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาและเลือกให้เหมาะกับปัญหาที่จะแก้ไข
Juvederm Filler
- Juvederm Voluma เป็นเนื้อเจลที่มีลักษณะแข็งและฟูปานกลาง มีความยืดหยุ่นสูง โมเลกุลขนาดใหญ่ มีความหนาแน่น คงตัว เรียบเนียน
- Juvederm Volift เป็นเนื้อเจลที่มีลักษณะเนื้อนิ่มปานกลาง มีความละเอียด เรียบเนียน
- Juvederm Volbella เป็นเนื้อเจลที่มีลักษณะเนื้อนิ่ม ให้ความเรียบเนียน
- Juvederm Volux เป็นเนื้อเจลที่มีลักษณะเป็นเนื้อแข็ง มีความคงตัวสูง ขึ้นรูปได้ดี
- Juvederm Ultra Plus XC เป็นเนื้อเจลที่มีลักษณะความหนาแน่นและความคงตัวสูง
Restylane Filler
- Restylane Lyft เป็นฟิลเลอร์ที่มีความแน่น แข็ง หลังฉีดไม่ค่อยฟู แต่ให้ความคงรูปได้อย่างดี
- Restylane Defyne เนื้อฟิลเลอร์มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับเติมแก้มส้ม ลิฟหน้า คางให้ละมุนเหมาะกับคนที่ผิวบาง
- Restylane Vital Light โมเลกุลมีขนาดเล็ก มีความนิ่มที่สุด เหมาะสำหรับเติมผิวชั้นตื้น แก้ปัญหาริ้วรอยเพิ่มความฉ่ำวาว
- Restylane Volyme ออกแบบมาเพื่อเติมเต็มใบหน้าให้อิ่มฟู ใช้สำหรับเติมเต็มส่วนที่ลึกหรือตอบลง
- Restylane Refyne เป็นฟิลเลอร์มีเจลขนาดเล็กนิ่มและยืดหยุ่นสูงเหมาะสำหรับเติมเต็มริ้วรอยต่างๆเนื้อเจลกลืนกับผิวได้ดีให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ
- Restylane Lidocaine เนื้อเจลมีความแข็งปานกลาง ออกแบบมาเพื่อใช้ปรับมิติของใบหน้า นิยมใช้รักษาบริเวณ Midface เติมเต็ม แก้มส้ม ร่องแก้ม ร่องน้ำหมาก เติมริมฝีปากให้สวยอิ่ม หรือเต็มริ้วรอยตื้น-ลึก
Neuramis Filler
- Neuramis Deep ฟิลเลอร์ตัวนี้เนื้อสัมผัสค่อนข้างเฟิร์ม เติมเพื่อเพิ่มวอลลุ่มได้ดี ฟิลเลอร์ตัวนี้ไม่ฟูมาก แต่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน ราคาย่อมเยาว์
Yvorie Filler
- Yvoire Volume Plus เป็นฟิลเลอร์ที่มีโมเลกุขนาดใหญ่ มีความคงตัวสูง ขึ้นรูปได้ดี เหมาะสำหรับการเติมเต็มในชั้นลึก ขมับ ใต้ตา หน้าผาก แก้มตอบ คาง แก้มส้ม และริมฝีปาก
- Yvoire Contour เป็นฟิลเลอร์ที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับการเติมคาง กรอบหน้า โหนกแก้ม และ ลิฟกรอบหน้า
- Yvoire Classic Plus เป็นฟิลเลอร์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เนื้อสัมผัสบางเบา มีความนิ่มที่สุด เหมาะสำหรับการเติมเต็มริ้วรอย และล่องลึก
- 44Clinicเ ป็นคลินิกที่ได้มาตรฐานผ่านการจดทะเบียนถูกต้อง เลขที่ใบอนุญาต 13101007862
- 44Clinic มีแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทางที่มีความชำนาญ
- ใช้ยาแท้ที่มีคุณภาพผ่าน อย. มั่นใจได้ว่าปลอดภัย 100%
- เราเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีความสะอาด ได้มาตรฐาน มีการฆ่าเชื้ออยู่ตลอดเวลา
- ให้คำแนะนำที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา อย่างครบถ้วน
- รับผิดชอบคนไข้ทุกคน มีการติดตามผลลัพธ์และรับประกันผลหลังการทำ
อ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับฟิลเลอร์
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์ใต้ตา “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์ปาก “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์คาง “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์ร่องแก้ม “คลิกที่นี่“
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์ขมับ “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์หน้าผาก “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฟิลเลอร์แก้มตอบ “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อปฏิบัติหลังการฉีดฟิลเลอร์ “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Juvederm Filler “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Restylane Filler “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Neuramis Filler “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Yvoire “คลิกที่นี่”