สารบัญ
PRP (Platelet Rich Plasma) คืออะไร
การทำ PRP หรือ Platelet Rich Plasma คือ การนำเลือดของตัวเองมาปั่นเพื่อแยกชั้นของพลาสมา (Plasma) ซึ่งมีลักษณะเป็นสีเหลืองใสออกมา โดยสกัดเอาเกล็ดเลือด (Platelet) จากชั้นที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดซึ่งมีโปรตีนและเซลล์จากกระแสเลือดเข้มข้น มาใช้ในการบำบัดและฟื้นฟูสภาพเซลล์ผิว เพราะในเกล็ดเลือดชั้นนี้ประกอบด้วยสารต่างๆ ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด สามารถกระตุ้น Growth Factor ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจน กระตุ้นการเติบโตและการแบ่งเซลล์ของผิวหนัง ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมผิว พร้อมทั้งช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นด้วย
ในวงการแพทย์ PRP (Platelet Rich Plasma) จะนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับอาการบาดเจ็บของกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยรักษาและซ่อมแซมส่วนที่เสื่อมหรือสึกหรอ โรคทางทันตกรรม การรักษาผมร่วง โดยในส่วนของการเสริมความงามจะใช้ฟื้นฟูผิวจากภายในเพื่อลดริ้วรอย ชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย อีกทั้งยังช่วยเติมเต็มจุดบกพร่องบนใบหน้าได้อีกด้วย ข้อสำคัญคือ ไม่อันตราย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบจากเลือดของคนไข้เอง จึงปลอดภัย 100%
PRP ได้สารชนิดใดบ้าง
Platelet Rich Plasma (PRP) เป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านการแพทย์ที่มีการนำ PRP ไปประยุกต์ใช้ในคลินิก ทางด้านผิวหนังมีรายงายวิจัยพบว่า PRP สามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อได้ดี ทำให้การหายของแผลดีขึ้น ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ในด้านผิวพรรณและความงามกันอย่างแพร่หลาย โดยนำเลือดของคนไข้ที่มีปัญหาด้านผิวพรรณมาทำการปั่นแยกเอาชั้นที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) ออกจากเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว แล้วนำฉีดกลับเข้าไปในตำแหน่งต่างๆบนใบหน้า ที่มีปัญหา การประยุกต์ใช้ PRP บริเวณผิวหน้า มีหลักการดังนี้ คือ การปั่นแยก PRP จากเลือดแล้วนำมากระตุ้นด้วย Calcium Chloride ทำให้เซลล์เกล็ดเลือดนั้นหลั่งสาร Growth Factors PDGF, VEGF, EGF และ TGFb ออกมาจำนวนมาก เมื่อนำไปฉีดในตำแหน่งต่างๆ Growth Factors เหล่านี้จะไปออกฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ต่างๆ ในชั้นผิวหนัง เช่น Fibroblast, Epithelial Cells, Keratinocyte ในชั้นผิวหนังต่างๆ ทำให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์มากขึ้น เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ผิวหน้าแน่นตึงกระชับ สดใส และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและหลอดเลือดฝอย ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณใบหน้ามากขึ้น ทำให้ผิวหน้ามีออกซิเจนมากขึ้น ทำให้ใบหน้าสดใสมีเลือดฝาด
Growth Factors ใน PRP มีสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้
-
-
-
- Platelet – Derived Growth Factor
- Transforming Growth Factor Beta
- Fibroblast Growth Factor
- Insulin – Like Growth Factor 1
- Insulin – Like Growth Factor 2
- Vascular Endothelial Growth Factor
- Epidermal Growth Factor
- Interleukin 8
- Keratinocyte Growth Factor
- Connective Tissue Growth Factor
-
-
PRP เหมาะกับใคร และไม่เหมาะกับใคร
กลุ่มบุคคลที่เหมาะกับการทำ PRP
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูผิวจากภายในเพื่อลดริ้วรอย ชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย รวมไปถึงการกระตุ้นคอลลาเจนบนใบหน้า
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหามีหลุมลึก รูขุมขนไม่กระชับ มีแผลเป็น หรือรอยดำ รอยแดง บนใบหน้าที่เกิดจากสิว
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาขมับและใบหน้าตอบ PRP จะช่วยในการเติมเต็มได้
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องริ้วรอย บริเวณหน้าผาก หางตา หรือส่วนอื่นๆบนใบหน้า
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผิวหน้าแห้ง หน้าหมองคล้ำ ไม่ค่อยกระจ่างใส
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาบริเวณที่มีความยืดหยุ่นน้อย เนื่องจาก Collagen และ Elastin ลดน้อยลง
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาใต้ตาคล้ำ ร่องแก้ม ร่องน้ำหมาก
กลุ่มบุคคลที่ไม่เหมาะกับการทำ PRP
การทำ PRP (Platelet Rich Plasma) จะมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูเซลล์ของร่างกาย แต่ในกลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะทำ PRP ได้ เพราะจะส่งผลกับสุขภาพร่างกายของผู้ทำ ได้แก่
- คนไข้ที่กำลังอยู่ในภาวะตั้งครรภ์
- คนไข้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือผู้ที่มีความผิดปกติของเกล็ดเลือด
- คนไข้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ติดเชื้อ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนัง รวมถึงมีประวัติเคยเป็น เช่น Squamous Cell Carcinoma, Basal Cell Carcinoma และ Melanoma เป็นต้น
- คนไข้ที่เป็นผู้ป่วยโรคโลหิตจาง หรือมีความผิดปกติในการเเข็งตัวของเลือด
- คนไข้ที่เป็นโรคตับ โรคทางภูมิคุ้มกันต่อตนเอง (Autoimmune) รวมถึงผู้ที่รับประทานวิตามินอี หรือสารที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว
PRP ทำบริเวณไหนได้บ้าง และใช้ในการรักษาอะไรบ้าง
1.ใช้ฉีดทั่วใบหน้า จะเน้นบริเวณที่มีปัญหา เช่น ริ้วรอย ร่องแก้ม หลุมสิว เพื่อไปกระตุ้นคอลลาเจน อิลาสติน สร้างหลอดเลือดภายในผิวใหม่ ใช้ในการรักษาผิวหน้า เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวหน้าหมองคล้ำ ไม่กระชับ มีร่องแก้มที่ลึก มีรอยคล้ำใต้ตา ปัญหาริ้วรอยบนใบหน้า ระหว่างคิ้ว หางตา หน้าผาก มีแผลเป็น เป็นสิว รอยดำรอยแดงจากสิว ผิวหน้าแห้งกร้าน มีฝ้า กระ
บริเวณที่มักพบปัญหา
- PRPหน้าใส จะช่วยให้หน้าใส หน้าเงาฉ่ำน้ำ ลดการอักเสบของผิว ซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ
- PRPใต้ตา จะช่วยลดริ้วรอยใต้ตา ความหมองคล้ำ ทำให้ใต้ตาสว่างใสขึ้น
- PRPร่องแก้ม/ขมับ ช่วยเติมเต็มร่องแก้มที่ลึก ให้ดูตื้นขึ้น และช่วยเติมเต็มขมับทำให้ใบหน้าดูละมุน สวยมากยิ่งขึ้น
- PRPฝ้า-กระ จะช่วยรักษาฝ้า กระ ทำให้บริเวณฝ้า กระ ดูจางลง พร้อมช่วยปรับสมดุลในการสร้างเม็ดสีเมลานินสีผิวให้ขาวกระจ่างใส
- PRPหลุมสิว จะช่วยรักษาหลุมสิวและรอยแผลเป็นให้มีขนาดเล็กลง อีกทั้งยังช่วยรักษาสิว จุดด่างดำ รอยดำรอยแดงจากสิว ทำให้รูขุมขนเล็กลง และเพิ่มความกระจ่างใส
- PRPข้อเข่า จะช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ลดอาการข้อเข่าอักเสบ ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บ ฟื้นฟูข้อเอ็นและกล้างเนื้อด้วยเกร็ดเลือด
- PRPริ้วรอย จะช่วยสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อีลาสติน ผลัดเซลล์ผิวใหม่ทำให้ผิวหน้าดูกระจ่างใสขึ้น และช่วยให้ผิวหน้าเต่งตึง กระชับ
- PRPหนังศีรษะ จะช่วยให้ลดอาการผมร่วง ทำให้หนังศรีษะเกิดความแข็งแรง
2.ฉีดบริเวณหนังศีรษะและกระตุ้นเซลล์ตรงรากผมที่เสื่อมสภาพ ให้เซลล์กลับมาสร้างใหม่ ช่วยลดอาการผมร่วง ผมบางได้ อีกทั้งยังกระตุ้นการเกิดใหม่ของเซลล์ผม ทำให้เส้นผมที่ขึ้นใหม่แข็งแรงขึ้น
3.ใช้ในการรักษาโรคทางกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อที่ได้รับการบาดเจ็บ ฉีดตรงบริเวณที่มีการบาดเจ็บ อักเสบหรือเสื่อมสภาพทำให้เซลล์บริเวณนั้นได้รับการฟื้นฟู อาการส่วนใหญ่ที่จะใช้ PRP ในการรักษาเช่น
- เอ็นอักเสบที่ข้อศอกด้านนอก – Tennis Elbow (Common Extensor Tendinosis)
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ – Achilles Tendinosis
- เอ็นอักเสบขาหนีบ – Adductor Tendons
- เอ็นอักเสบสะโพก – Gluteal Tendons
- รองช้ำ – Plantar Fasciitis
- เอ็นอักเสบที่ข้อศอก
- เอ็นอักเสบข้อพับเข่าด้านหลัง – Hamstring Tendons
- เอ็นหน้าเข่าอักเสบ – Jumper’s Knee (Patellar Tendinosis)
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง – Hamstring Muscle (ซึ่งมักพบในนักกีฬาฟุตบอล)
- กล้ามเนื้อน่อง – Calf
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก – Quadriceps
- โรคข้อเข่าเสื่อมและอักเสบ – Knee Osteoarthritis
- โรคข้อสะโพกเสื่อมและอักเสบ – Hip Osteoarthritis
- โรคกระดูกสันหลังส่วนคอและเอวเสื่อม – Spondylosis เป็นต้น
4.ใช้ในการรักษาการบาดเจ็บเรื้อรัง แผลกดทับ แผลเบาหวานและแผลติดเชื้อ สามารถลดการผ่าตัดได้ อีกทั้ง PRP ยังช่วยกระตุ้นการสมานแผลและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กับร่างกายได้ดี
การทำ PRP อันตรายหรือไม่
การฉีด PRP มีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เป็นการรักษาที่ปลอดภัย 100% ไม่มีสารสังเคราะห์ ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ เพราะตัวพลาสมาถูกสกัดมาจากเลือดของคนไข้เอง เพียงแต่ต้องกระทำการโดยแพทย์และใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และปลอดเชื้อ จึงสรุปได้ว่าการทำ PRP นั้นมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน
อันตรายจากการทำ PRP
การทำ PRP เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง ไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงใดๆที่เป็นอันตราย เนื่องจากไม่ใช่การฉีดสารสังเคราะห์เข้าไปในร่างกายหรือใบหน้าของคนไข้ แต่เป็นการฉีดเกล็ดเลือดที่นำมาจากเลือดของคนไข้ ในช่วงแรกที่ฉีด PRP เข้าผิวหนัง จะรู้สึกตึงในบริเวณที่ฉีด แต่อาการดังกล่าวจะหายไปภายใน 10 – 15 นาที ในบางรายอาจมีอาการบวมหรือฟกช้ำเล็กน้อยประมาณ 3 – 5 วัน ซึ่งจะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่นาน
ผลข้างเคียงหลังการทำ PRP
โดยทั่วไปแล้ว การฉีด PRP นั้นไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ เนื่องจากขั้นตอนการทำ PRPจะคล้ายกับการฉีดเมโสจะรู้สึกแสบนิดๆเวลาเดินยา ขณะที่ฉีด PRP เข้าสู่ผิวหนังจะรู้สึกอุ่นๆ แต่อาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 10 – 15 นาที คนไข้สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะเป็นผู้ดำเนินการฉีด PRP ให้ได้ตลอดระยะเวลาที่ทำหัตถการ เพื่อความมั่นใจในช่วงเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการทำหัตถการ
การเตรียมตัวก่อนทำ PRP
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมารับบริการ อย่างน้อย 2 – 3 วัน
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อไม่ให้เลือดหนืดข้นจนเกินไป
- เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรได้รับวิตามินชี 1 อาทิตย์ ก่อนการทำหัตถการ
- ก่อนเข้ารับการรักษาห้ามรับประทานยาต้านการอักเสบและการแข็งตัวของเลือด ในกลุ่ม ASA หรือ NSIAD ก่อนทำ 2 – 3 วัน
- รับประทานอาหารมื้อหลักมาให้พร้อมก่อนทำ แต่ควรงดอาหารประเภทไขมันสูง ของมัน ของทอด และของหวานเพราะจะทำให้พลาสมาผิดปกติ ไม่สามารถนำไปใช้ในการรักษาได้
ขั้นตอนการทำ PRP
- แพทย์จะประเมินใบหน้า ดูตำแหน่งที่ขาดความยืดหยุ่น และเตรียมทำความสะอาดใบหน้าให้สะอาด ทายาชาบนใบหน้า อย่างน้อย 20 – 30 นาที หรืออาจจะเป็นการประคบน้ำแข็งก่อนทำการฉีด
- แพทย์จะทำการเจาะเลือดของคนไข้ ประมาณ 20 – 30 cc (แต่ละคนอาจจะใช้ มาก – น้อย ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์)
- นำเลือดที่ได้ใส่ใน Tube เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- นำเลือดที่ได้เข้าเครื่อง Centrifuge ที่ใช้ปั่น เพื่อแยกส่วนของเลือดและน้ำออกจากกันเพื่อให้ได้เกล็ดเลือดที่เข้มข้นและสมบูรณ์ที่สุด
- ดึงเอาเฉพาะเกล็ดเลือดที่เข้มข้นเป็น Plasma สีเหลืองใส
- นำ Plasma ที่ได้มาฉีดใบหน้าหรือบริเวณจุดอื่นๆของคนไข้ที่ต้องการจะแก้ไขปัญหา
ข้อปฏิบัติหลังการทำ PRP
- คนไข้สามารถทาครีมบำรุงผิวได้ตามปกติ แต่ให้หลีกเลี่ยงการทาครีมที่มีส่วนผสมของ AHA หรือครีมที่มีส่วนผสมของ Whitening หลังจากทำ PRP
- คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการล้างหน้าภายใน 4 – 6 ชั่วโมงแรกหลังจากการทำ PRP
- คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการแต่งหน้าอย่างน้อย 1 วัน หลังการทำ PRP ทันที
- คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป
- คนไข้อาจจะมีอาการบวม (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) หรืออาจมีรอยเข็มหรือรอยช้ำเล็กน้อย
- คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม กลางแสงแดด 2 – 3 วัน หลังทำ PRP
- คนไข้หลีกเลี่ยงการรับประทานยา Ibuprofen และ Aspirin ประมาณ 2 – 3 วัน
ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ PRP
การทำ PRP (Platelet Rich Plasma) จะทำหน้าที่ไปกระตุ้นคอลลาเจน อิลาสติน และการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยพื้นฟูซ่อมแซมเซลล์ผิวหน้า กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง และคอลลาเจน ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยดำรอยแดงที่เกิดจากสิว ริ้วรอยและรอยแผลเป็น ทำให้ผิวกลับมาแลดูสุขภาพดี คืนความอ่อนเยาว์ หลังจากที่ทำ PRP ไป 2 – 3 ครั้ง จะเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน เพราะตัว PRP จะช่วยกระตุ้นคอลลาเจน อิลาสติน และเซลล์ใต้ผิวหนังให้สร้างขึ้นมาใหม่ ช่วยฟื้นฟู เร่งการรักษาผิวจากการถูกทำลายด้วยมลภาวะ คืนความยืดหยุ่น ทำให้ผิวกลับมาแข็งแรง สุขภาพดี คืนความอ่อนเยาว์ให้ผิว ริ้วรอยดูตื้นขึ้น ผิวกระชับ เรียบเนียน และกระจ่างใส ปัญหาจุดด่างดำ รอยดำรอยแดงที่เกิดจากสิวดูจางลง ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อายุ และการดูแลของคนไข้ทั้งก่อนและหลังการทำ PRP
ระหว่าง PRP แตกต่างจาก Filler อย่างไร?
ฟิลเลอร์ (Filler) คือ การฉีดสารเติมเต็ม ที่มีชื่อว่าสารไฮยาลูโรนิคเอซิด (Hyaluronic Acid) หรือที่เรียกกันว่า HA ซึ่งเราจะใช้ฟิลเลอร์ในการเติมเต็มริ้วรอยร่องลึก ที่เกิดขึ้นตามจุดต่างๆบนใบหน้าทำให้ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นขึ้น รักษาแผลเป็นจากสิว หรืออาจจะฉีดที่ปากเพื่อให้ริมฝีปากดูอวบอิ่ม คนไข้ที่มีอายุมากขึ้น ทำให้คอลลาเจนลดลง สามารถใช้ฟิลเลอร์ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
ส่วน PRP คือ การสกัดเอาเกล็ดเลือดจากชั้นที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดมาใช้ในการบำบัดและฟื้นฟูสภาพเซลล์ผิว สามารถกระตุ้น Growth Factor ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจน กระตุ้นการเติบโตและการแบ่งเซลล์ของผิวหนัง ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมผิว พร้อมทั้งช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นด้วย
จึงสรุปได้ว่า PRP กับ Filler แตกต่างกันตรงที่ Filler นั้นเป็นการฉีดสารเติมเต็มเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆที่ต้องการบนใบหน้า ส่วน PRP นั้นเป็นการใช้สารธรรมชาติที่ได้จากเลือดของคนไข้เองมาใช้การทำ ทั้งนี้การจะตัดสินใจว่าตัวไหนดีกว่ากัน ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งอาจจะต้องให้ตัวคนไข้เป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจ
การทำ PRP ที่ 44Clinic ดีอย่างไร?
- ที่ 44Clinic เราใช้เครื่องปั่นเลือดที่ได้มาตรฐาน รัศมีของเครื่อง แรงเหวี่ยงของเครื่อง และการตั้งค่าของเครื่องปั่น เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราได้องค์ประกอบของสารที่นำมาฉีดให้กับคนไข้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนไข้ของเราจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ
- เราเลือกใช้ Tube หรือหลอดใส่เลือดที่สามารถใช้ในด้านของการเสริมความงามบนใบหน้า หรือใช้ในการกระตุ้นรากผมได้ ซึ่งในการปั่นเลือดที่ดีควรได้เกล็ดเลือดจากการปั่น อย่างน้อย 3 เท่าของเกล็ดเลือดปกติ แต่ในกรณีที่ใช้ในการรักษาโรคทางกระดูก หรือรักษาแผลบริเวณเนื้อเยื่อ ต้องใช้เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นถึง 5 เท่าของเกล็ดเลือดปกติจึงจะเหมาะสม
- การดูแล ให้คำแนะนำคนไข้ ก่อนและหลังการรักษาเป็นเรื่องที่สำคัญที่เรารักษามาตรฐานอย่างจริงใจมาโดยตลอด
- เราเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีความสะอาด ได้มาตรฐาน มีการฆ่าเชื้ออยู่ตลอดเวลา
- เรารับผิดชอบคนไข้ทุกคน มีการติดตามผลลัพธ์และรับประกันผลหลังการทำ
อ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับ PRP
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP หน้าใส “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP ใต้ตา “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP ร่องแก้ม “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP ฝ้า กระ “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP หลุมสิว “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP ข้อกระดูก “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP ริ้วรอย “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PRP หนังศีรษะ “คลิกที่นี่”
-
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์ของ PRP “คลิกที่นี่”