วิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย

          วิตามินและแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการช่วยบำรุง และฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งในวิตามินแต่ละชนิดก็จะมีประโยชน์แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้คนไข้ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิตามินและแร่ธาตุแต่ละชนิดกันอย่างละเอียด
ทักแชทหาแอดมิน
โทรด่วน

วิตามินเอ (Vitamin A)

          วิตามินเอเป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของผู้ที่ใช้สายตาเป็นเวลานาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ในเวลากลางคืนหรือปัญหาการมองเห็นในที่มืด อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยในการเจริญเติบโตต่างๆ เช่น กระดูก ผิวพรรณ เส้นผม รวมถึงผู้เจ็บป่วยง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ จะพบวิตามินเอมากในอาหารจำพวก ไขมันเนย นม น้ำมันปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเขียว และวิตามินเอที่เหมาะสมสำหรับร่างกายในแต่ละวันจะอยู่ที่ 700 – 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน

วิตามินบี (Vitamin B)

         วิตามินบีทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่ช่วยในการเผาผลาญสารอาหารเพื่อนำไปสร้างสาระสำคัญต่างๆ แก่ร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง ช่วยบรรเทาอาการความเครียด วิตกกังวล และมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของร่างกาย สำหรับผู้ที่ขาดวิตามินบีจะมีวิธีการสังเกตเห็นได้ เช่น มีอาการมึนงง รู้สึกอ่อนเพลีย สมองตื้อ โดยในแต่ละวันปริมาณวิตามินบีแต่ละชนิดที่เหมาะสมสำหรับร่างกายจะไม่เกิน 25 – 50 มิลลิกรัมต่อวัน และวิตามินบีสามารถแยกย่อยออกไปได้อีกกว่า 13 ชนิดแต่ทั้งนี้สามารถพบได้ในรูปแบบของวิตามินบีรวม

  • วิตามิน B1 มีหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปให้เกิดเป็นพลังงาน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ ช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ หากร่างกายขาดวิตามิน B1 จะทำให้อ่อนเพลีย ชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า และส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
  • วิตามินบี B2 มีประโยชน์ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ป้องกันการเกิดแผลในช่องปาก รวมถึงโรคปากนกกระจอก ช่วยป้องกันการเกิดไมเกรน ทำให้ผิวหนัง เล็บ เส้นผมมีสุขภาพดี และลดการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร
  • วิตามินบี B3 ช่วยเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลัง และสร้างไขมันในร่างกาย ช่วยทำลายสารพิษจากควันบุหรี่ มลพิษ รักษาภาวะเครียด และช่วยการไหลเวียนของเลือด
  • วิตามิน B5 มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง ช่วยเรื่องการนอนหลับ และควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย บรรเทาอาการข้ออักเสบ ลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์
  • วิตามิน B6 จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยชะลอวัย และมีหน้าที่สำคัญเรื่องการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย ช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เป็นปกติ
  • วิตามิน B7 ช่วยป้องกันผมหงอก รักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผม และหนังศีรษะ บำรุงรักษาเล็บที่แห้งเปราะ ช่วยในการเผาผลาญไขมัน และโปรตีน บรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ผดผื่นคันต่าง ๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • วิตามิน B9 ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ แก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ ช่วยชะลอการเกิดผมขาว หากรับประทานร่วมกับพาบา และวิตามิน B5 จะช่วยให้เจริญอาหาร หากร่างกายอ่อนเพลีย ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้ ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันพยาธิในลำไส้ และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ ป้องกันภาวะพิการในทารกแรกเกิด ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร ช่วยลดระดับกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้
  • วิตามิน B12 มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการอ่อนเพลียจากโรคโลหิตจาง

วิตามินซี (Vitamin C)

          วิตามินซีทำหน้าที่ในการเสริมสร้างและป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยลดริ้วรอย ชะลอความแก่ ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ช่วยลดความรุนแรงของอาการไข้หวัดและช่วยสร้างความยืดหยุ่นใต้ชั้นผิวหนังได้ดี ซึ่งจะพบวิตามินซีมากในอาหารจำพวก ส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม มะเขือเทศ ผักใบเขียว และวิตามินซีที่เหมาะสำหรับร่างกายในแต่ละวันอย่างน้อย 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

วิตามินดี (Vitamin D)

วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ฟอสฟอรัสเข้าสู่ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกอ่อนและควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด ในกระดูกและลำไส้ ส่งผลต่อการชะลอและป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาหารที่จะพบวิตามินดีได้คือจำพวกน้ำมันตับปลา ปลาแซลมอน ทูน่ากระป๋อง ไข่แดง ขม เห็ด เมล็ดธัญพืช แต่ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอัลตราไวโอเลต และวิตามินดีที่เหมาะสมสำหรับร่างกายในแต่ละวันจะอยู่ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อวัน พบว่าในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะขาดวิตามินดีมากขึ้น การขาดวิตามินดีไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง แต่จะมีผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และจะไปกระตุ้นการทำงานของยีสต์ส่งผลให้อาจจะก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคหืด โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคซึมเศร้า อัลไซเมอร์ รวมไปถึงอาจทำให้เกิดปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำซึ่งเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

วิตามินอี (Vitamin E)

วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน จะช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด ลดการเกิดกระบวนการอักเสบในร่างกายที่อาจจะนำไปสู่โรคต่างๆ หน้าที่สำคัญที่สุดของวิตามินอี คือ เป็น แอนติออกซิแดนท์ (Antioxidants) และยังเป็นตัวช่วยของระบบกล้ามเนื้อและการทำงานของตับ ช่วยบำรุงตับ และวิตามินอียังมีสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยจะพบวิตามินอีมากในอาหารจำพวก อโวคาโด ผักโขม น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำนมวัว น้ำมันตับปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ และวิตามินอีที่เหมาะสมสำหรับร่างกายในแต่ละวันจะไม่เกิน 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน

แคลเซียม (Calcium)

          แคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมขึ้นมาเองได้ ทั้งนี้ร่างกายจะต้องอาศัยการดูดซึมแคลเซียมผ่านลำไส้เป็นหลัก แคลเซียมมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ และระบบหัวใจ อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ โดยจะพบแคลเซียมมากในอาหารจำพวก ปลาเล็กปลาน้อย งา ถั่วเหลือง ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส เนย และโยเกิร์ต และแคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับร่างกายในแต่ละวันจำอยู่ที่ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

โพแทสเซียม (Potassium)

         โพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ในการช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย สมดุลกรด-ด่างของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต โพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญต่อปริมาณออกซิเจนที่ถูกนำไปเลี้ยงสมอง จึงส่งผลให้สมองเกิดการเรียนรู้และจดจำได้เป็นอย่างดี และยังช่วยบรรเทาอาการเครียดได้อีกด้วย โดยจะพบโพแทสเซียมได้ในอาหารจำพวก ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย ทุเรียน ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกพรุน ลูกเกด แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง และโพแทสเซียมที่เหมาะสมกับร่างกายในแต่ละวันจะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน

แมกนีเซียม (Magnesium)

แมกนีเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาสมดุลแคลเซียมในกระดูกและเลือด มีส่วนช่วยในการเผาผลาญเปลี่ยนไขมัน คาร์โบโฮเดรต และน้ำตาลไปเป็นพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย พร้อมทั้งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดและอาการเหนื่อยล้าได้ดี มักจะพบในอาหารจำพวกปลา หอย ถั่ว อัลมอนด์ เมล็ดแฟล็กซีด เมล็ดธัญพืช ข้าวแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักโขม อโวคาโด มะเดื่อฝรั่ง กล้วยหอม ช็อกโกแลต และแมกนีเซียมที่เหมาะสมสำหรับร่างกายในแต่ละวันจะอยุ่ที่ 300 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน

ไอโอดีน (Iodine)

ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายมีหน้าที่ในการควบคุมระบบประสาทและสมองให้เจริญเติบโต จัดเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เพื่อช่วยให้พัฒนาสมองละกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ไอโอดีนยังมีส่วนในการช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจให้ทำงานได้ปกติ อีกทั้งยังช่วยในกระบวนการเผาผลาญได้เป็นอย่างดี เปรียมเสมือนผู้ช่วยในการควบคุมสมดุลมวล  น้ำหนักในร่างกาย พบได้ในอาหารประเภท อาหารทะเล สาหร่ายทะเล ปลาทะเล เกลืออนามัย และไอโอดีนที่เหมาะสมสำหรับร่างกายในแต่ละวันอย่างน้อย 150 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้ที่ขาดไอโอดีนจะส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ความคิดความอ่านช้าลง เชื่องช้า ง่วงซึม น้ำหนักตัวเพิ่ม ร่างกายขนาดพลังงาน หนาวง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นโรคคอพอก

สรุป

วิตามินนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีประโยชน์แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นยังมีแร่ธาตุที่เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการฟื้นฟูและบำรุงร่างกาย ดังนั้นก่อนที่คนไข้จะเลือกฉีดวิตามินผิวเข้าสู่ร่างกาย การศึกษาประโยชน์ของวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในแต่ละสูตร จะสามารถทำให้คนไข้เลือกสูตรวิตามินผิวที่ตรงต่อความต้องการในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
error: Content is protected !!